ออมสิน เปิดตัวเงินกู้ฉุกเฉิน ช่วยประชาชนอาชีพอิสระหรือผู้มีราย เว็บตรงฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ ได้ประจำที่ถูกผลกระทบไวรัสโคโรนา (COVID-19) ยื่นลงทะเบียนใช้บริการผ่านเว็บไซต์ธนาคารฯ www.gsb.or.th เท่านั้น ธนาคารออมสิน เร่งดำเนินการตามมติครม. “โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน” และ “โครงการสินเชื่อพิเศษเพิ่มเติม” เปิดตัวสินเชื่อช่วยคนได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) สำหรับคนมีอาชีพอิสระ ให้กู้ 10,000 บาท ปลอดชำระ 6 เดือนแรก ดอกเบี้ย 0.10% ต่อเดือน ผ่อนชำระ 2 ปี ไม่ต้องมีหลักประกัน ส่วนผู้มีรายได้ประจำ ให้กู้ไม่เกิน 50,000 บาท ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน ผ่อนชำระ 3 ปี เริ่มเปิดลงทะเบียน 1 เมษายนนี้ ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสินเท่านั้น
ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 เห็นชอบมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 เนื่องจากการแพร่ระบาดขยายวงกว้างขึ้นจนมีผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ กระทรวงการคลังในฐานะที่ดูแลและรับผิดชอบเศรษฐกิจของประเทศได้จัดทำมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยาที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งประชาชนและผู้ประกอบการอย่างเร่งด่วน ภายใต้หลักการ “ทันการณ์ ตรงเป้าหมาย และชั่วคราวตามจำเป็น”
โดยธนาคารออมสิน ในฐานะฟันเฟืองสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงการคลัง ได้ออกมาตรการตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เริ่มมีนโยบายให้เร่งรีบให้ความช่วยเหลือทั้งประชาชนและผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการลดดอกเบี้ยเงินกู้ การผ่อนภาระชำระเงินกู้ การให้สินเชื่อเพื่อบรรเทาผลกระทบ การเป็นช่องทางโอนเงินให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนการเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการสามารถประคองกิจการให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตนี้ไปได้ ล่าสุดนี้ ได้เปิดให้บริการ สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) วงเงินกู้สูงสุด 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.10% ต่อเดือน (Flat Rate) ผ่อนชำระคืนนานถึง 2 ปี โดยไม่ต้องชำระเงินกู้ 6 งวดแรก ที่สำคัญคือไม่ต้องใช้หลักประกันใดๆ คุณสมบัติผู้กู้มีอายุ 20 ปีขึ้นไป สัญชาติไทย เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้เดือนละไม่เกิน 30,000 บาท ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เช่น พ่อค้าแม่ค้า คนขับรถโดยสารแท็กซี่-สามล้อ มัคคุเทศก์ เป็นต้น มีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอน สามารถติดต่อได้
นายกฯ วอนประชาชนทำ 10 ข้อควรปฏิบัติ พร้อมให้กำลังใจ จนท. หลังเริ่ม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน
นายกฯ ให้กำลังใจ จนท. เริ่มปฏิบัติตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548 วันแรก พร้อมสั่ง-ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน 10 ข้อควรปฏิบัติ-รัฐบาลต่อยอดใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชัน AOT Airports
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกส่วน ทั้งหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคง ที่เริ่มปฏิบัติตามข้อกำหนดของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินวันแรกในวันนี้ และต้องทำงานใกล้ชิดกับประชาชน
ขอให้ระมัดระวังตัวเองให้ปลอดภัย มีความอดทน เสียสละ และให้อภัย พร้อมทั้งสั่งการผู้มีอำนาจหน้าที่ให้ดำเนินการ และขอความร่วมมือประชาชน 10 ข้อ ดังนี้
1. ให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางไปต่างจังหวัด หากมีความจำเป็นให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค เช่น กักตัวเอง 14 วัน
2. ให้ประชาชนใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด สำหรับผู้ที่เดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อติดตามป้องกันควบคุมโรค
3. ให้ประชาชนร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เพื่อประโยชน์ของตัวเองและครอบครัว
4. ให้ประชาชนยึดหลักเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) อยู่ห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
5. ให้ประชาชนดูแลตัวเอง สวมหน้ากากอนามัย ไม่มั่วสุม
6. ให้เจ้าหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ และสถานที่ให้เพียงพอกับผู้ป่วย
7. ให้เจ้าหน้าที่ควบคุมราคาสินค้า ไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อน เช่น ราคาไข่ไก่ ฯลฯ
8. ให้เจ้าหน้าที่แก้ไขกฎระเบียบการจัดซื้อ และลดภาษีการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์
9. ให้เจ้าหน้าที่เร่งประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน
10. ให้เจ้าหน้าที่ดูแลช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ และชาวต่างชาติในไทยที่มีใบอนุญาตให้ทำงาน
สำหรับการติดตามตัวผู้ที่เดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัดนั้น รัฐบาลได้ต่อยอดใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชัน AOT Airports ที่ใช้ติดตามตัวคนไทยที่เดินทางเข้าประเทศ โดยได้ปรับปรุงให้ใช้งานสะดวกขึ้น เพื่อให้แต่ละจังหวัดส่งเจ้าหน้าที่ไปพบกับคนกลุ่มเสี่ยง และให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันดังกล่าว
โดยระบุสถานที่กักกันตัวเอง กักตัวเอง 14 วัน และทุกวันต้องรายงานตัวผ่านระบบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสัญลักษณ์สีต่างๆ ว่า ยังคงกักกันตัวและปลอดภัยหรือไม่ และหากผู้ใช้ออกจากสถานที่กักกันเกิน 50 เมตร ไม่รายงานตัว หรือปิดแอป เจ้าหน้าที่จะทราบข้อมูล และลงไปตามหาตัวในพื้นที่ได้ทันที ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มนำร่องใช้งานแล้วที่ จ.บุรีรัมย์
นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปประยุกต์ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายปกครองที่ประจำจุดตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด ใช้ในการตรวจสอบว่าบุคคลกลุ่มเสี่ยงได้รายงานตัวและกักกันตัวเองครบ 14 วันแล้ว ตามมาตรฐานการควบคุมโรคแล้วหรือไม่ได้อีกด้วย.